สัตว์หางทั้ง 9

สัตว์หางทั้ง 9



             สัตว์หาง (Bijū) คือสัตว์ปิศาจจากเรื่องนินจาคาถาโอ้โฮเฮะ เป็นปิศาจที่มีพลังสูงส่ง 9 ตัวและถูกใช้เป็นเครื่องมือในการก่อสงครามรวมทั้งการคานอำนาจระหว่างแต่ละแคว้นในโลกของนารูโตะ ในสมัยสงครามนินจาครั้งใหญ่เคยมีการพยายามนำพลัง อำนาจของสัตว์หางเหล่านี้มาใช้โดยการนำไปผนึกไว้ในร่างมนุษย์ โดยจะเรียกผู้ที่มีสัตว์หางผนึกอยู่ว่าเป็น พลังสถิตร่าง และมีการฝึกฝนเพื่อให้สามารถควบคุมสัตว์หางได้อย่างชำนาญ การผนึกสัตว์หางลงในร่างสถิตนั้นมีวิธีแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น กาอาระ ที่คนรุ่นเก่าของหมู่บ้านใช้วิธีอัญเชิญสัตว์หางเข้าสิงสู่ในร่างของทารกโดยตรง ทำให้เกิดผลเสียคืออารมณ์ของร่างสถิตจะไม่คงที่และสัตว์หางเองก็พยายามแย่งชิงสติสัมปชัญญะของร่างสถิตอยู่เสมอ หรือ นารุโตะ ที่โฮคาเงะรุ่นที่สี่ ใช้คาถาเรียกทูตนรกมาดึงวิญญาณของสัตว์หางเข้าไปขังไว้ในร่างของนารุโตะด้วยคาถาสี่มหาวิถี ในแบบพิเศษที่ปล่อยให้คาถาค่อยๆคลายลงอย่างช้าๆและปลอยให้จักระของสัตว์หางไหลเวียนออกมาให้ร่างสถิตสามารถฝึกควบคุมได้ที่ละเล็กน้อยและนำจักระของสัตว์หางไปใช้ประโยชน์ได้

จุดกำเนิด
         หกเซียนเต๋าได้ปกป้องโลกเอาไว้จากปีศาจตนหนึ่งซึ่งมี 10 หาง หกเซียนเต๋าได้ทำการใช้วิชาผนึกและแยกร่างของ 10 หางออกไปตามลำดับพลังตั้งแต่ 1 หางไปจนถึง 9 หาง ส่วนผนึกสุดท้านนั้นคือพระจันทร์ที่เป็นส่วนสุดท้ายหากนำสัตว์หางทั้งหมด รวมตัวกับดวงจันทราจะคลายผนึกของสัตว์10 หางได้ หกเซียนเต๋าได้แยกตัวของสิบหาง ทำให้มันกระจายตัวออกไป ตามผนึก 9 ทิศและสลักผนึกไว้ที่หินจันทรา เพื่อปก ป้องโลกจากสิบหาง หกเซียนเต๋าจึงสร้างวิชานินจาอย่างหนึ่งขึ้นมานั้นคือคาถาผนึกสัตว์หาง และเพื่อผนึกสิบหางด้วยวิชานี้หกเซียนเต๋าจึงเอาตัวเองผนึกสิบหางหรือก็คือ หกเซียนเต๋านั้นก็คือพลังสถิตย์ร่างของสิบหาง ด้วยเหตุนี้ก็เลยทำให้ผู้คนต่างยกย่องหกเซียนเต๋า แต่หกเซียนเต๋าก็ยังห่วงว่าหากตัวเองตายไปสิบหางก็จะคลายผนึกอีกครั้ง ด้วยเหตุนี้หกเซียนเต๋าจึงใช้พลังของตนเองแบ่งจักระของสิบหางออกเป็น 9 ส่วนและปล่อยกระจายไปยังที่ต่างๆ ส่วนร่างจริงของสิบหางที่ถูกแบ่งจักระออกไปแล้วก็ถูกเอาขึ้นไปบนฟ้าจนกลาย เป็นดวงจันทร์ ด้วยพลังที่หลงเหลือของจิตของ 10 หางนั้นยังคาอยู่ในตัวผนึกสัตว์หางทุกตัวโดยมากน้อยไม่เท่ากัน

การควบคุมและการฝึกฝน

วิชาที่ใช้ในการผนึกนั้นมีหลายแบบโดยมีต้นแบบในรูปแบบของผนึกจันทราเป็นต้นแบบ

รูปแบบการผนึกสัตว์หาง

วิธีต้นแบบของการผนึกคือการซ้อนทับวิญญาณสัตว์หางลงในวิญญาณของมนุษย์และสะกดด้วยจักระของเจ้าของ หรือ ใส่ลงไปในตัวของสัตว์หางด้วยจักระของผู้รับผนึก

ปัจจุบันสัตว์หางเกือบทั้งหมดถูกแย่งชิงและอยู่ในการครอบครองของกลุ่มแสงอุษา

รายชื่อสัตว์หาง


ชูคาคุ   

            อิจิบิ โนะ ชูคาคุ (Ichibi No Shukaku) สัตว์หางเจ้าแห่งทราย มีอีกชื่อหนึ่งว่าภูตทราย รูปแบบแรคคูน มี1 หาง มีความสามารถในการควบคุมทราย เชื่อกันว่ามีระดับวิชาคาถาอยู่ในลำดับที่ 8 และมีปริมาณจักระอยู่ในลำดับที่ 9 เป็นเจ้าแห่งทะเลทราย ก่อนหน้าที่จะถุกแสงอุษาแย่งชิงไปเคยสถิตอยู่ในร่างของ กาอาระ



เนโกะมาตะ

         นิบิ โนะ เนโกะมาตะ (Nibi no Nekomata) สัตว์หางเจ้าแห่งวิญญาณ รูปแบบแมว มี2หาง เคยสถิตอยู่ในร่างของ ยูกิโตะ นิอิ ซึ่งเป็นนินจาหญิงแห่งหมู่บ้านคุโมะงาคุเระ ก่อนจะถูกแสงอุษาแย่งชิงมา เนโกะมาตะ มีความสามารถในการดูดกลืนวิญญาณเป็นอาหาร เชื่อกันว่ามีวิชาคาถาอยู่ในลำดับที่ 4 แต่มีปริมาณจักระอยู่ในลำดับที่ 8


อิโซนาเดะ   

         ซานบิ โนะ อิโซนาเดะ (Sanbi) สัตว์สามหาง เจ้าแห่งน้ำรูปร่างคล้ายตะพาบ (ในตำนานระบุว่าเป็นสัตว์คล้ายฉลาม) ไม่มีร่างสถิต (แต่ในตอนที่420ได้มีรูปแล้วเขียนว่าสัตว์หาง ในรูปเป็นชายชูมือ3นิ้วมีสัญลักษณ์แสดงว่าเป็นนินจาของคิริงาคุเระ ชื่อ ยากุระ)มีความสามารถในการควบคุมกระแสน้ำและคลื่น เชื่อกันว่ามีระดับวิชาคาถาอยู่ในลำดับที่ 6 และมีปริมาณจักระอยู่ในลำดับที่ 7 ในแอะนิเมะ ถูกเรียกออกมาจากแม้น้ำโดย ฮินาตะ ซากุระ อิโนะ และ ชิซึเนะ (เฉพาะแอะนิเมะ)


โซโค     

           ยอนบิ โนะ โซโค (Yonbi) สัตว์หางเจ้าแห่งพิษ สี่หาง มีรูปร่างผสมกันคล้ายแมลงพิษ หรือบางตำนานว่าเป็นสัตว์รูปร่างคล้ายไก่ผสมกับงู ถนัดในการใช้พิษสังหารและการวางยาพิษ มีวิชาคาถาอยู่ในลำดับที่ 9 และมีปริมาณจักระอยู่ในลำดับที่ 6 ในเรื่องมีรูปร่างเป็นลิงยักษ์ สถิตอยู่ในร่างของโรชิแห่งหมู่บ้านอิวะงาคุเระ


โฮโก    

       โกบิ โนะ โฮโก (gobi) ห้าหางเจ้าแห่งการลวงตา เป็นสัตว์หางรูปแบบสุนัข มีความสามารถในการควบคุมธาตุทั้งห้า ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ และสายฟ้า เชื่อว่ามีระดับวิชาคาถาอยู่ในลำดับที่ 3 และมีปริมาณจักระอยู่ในลำดับที่ 5 สถิตอยู่ในร่างของ ฮานแห่งหมู่บ้านอิวะงาคุเระ


ไรจู

      โรคุบิ โนะ ไรจู (rokubi) หกหาง สัตว์หางหน้าตาคล้ายตัววีเซิลเป็นเจ้าแห่งสายฟ้า มีวิชาคาถาอยู่ในลำดับที่ 5 และมีปริมาณจักระอยู่ในลำดับที่ 4 สัตว์หางรูปแบบทาก สถิตอยู่ในร่างของ อูทาคาตะ แห่งหมู่บ้านคิริงาคุเระ


คาคุ

     ชิจิบิ โนะ คาคุ (shichibi) เจ็ดหาง สัตว์หางรูปร่างเป็นตัวแบดเจอร์ที่มันคล้ายๆหมีมุดดิน เป็นจ้าวแห่งดิน สามารถควบคุมแผ่นดินได้ตามต้องการไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนแผ่นดินหรือหรือ หรือคลื่นสั่นสะเทือนใต้พื้นดิน มีวิชาคาถาอยู่ในอันดับที่3และมีปริมาณจักระอยู่ในลำดับที่ 3 เป็นสัตว์หางรูปแบบตัวด้วงหรือแมลงปีกแข็ง สถิตอยู่ในร่างของ ฟูแห่งหมู่บ้านทาคิงาคุเระ


ยามาตะ

     ฮัจจิบิ โนะ ยามาตะ ( Hachibi) รูปแบบอสูรวัวหางปลาหมึก[1]มีนินจาคุโมะกาคุเระเป็นร่างสถิต ตามตำนานญี่ปุ่นมีอีกชื่อว่า ยามาตะ โนะ โอโรจิ (แปลว่า งู) ซึ่งเป็นงูที่มีแปดหัวแปดหาง แตกต่างจากในเรื่องนินจาคาถาโอ้โฮเฮะ ยามาตะเป็นเจ้าแห่งภูติผีปีศาจ ควบคุมเหล่าปิศาจและมีอำนาจในโลกแห่งความตาย มีปริมาณจักระและลำดับของวิชาคาถาอยู่ในลำดับที่ 2 อย่างไรก็ตามมีอสูรอีกตนเคยปรากฏตัวออกมาในเนื้อเรื่องและมีลักษณะใกล้เคียงกับยามาตะเช่นกันนั่นคือคาถานินจาของโอโรจิมารุในขั้นสุดท้าย ซึ่งได้ปรากฏตัวออกมาตอนที่ซาสึเกะสู้กับอิทาจิ เป็นร่างของงูขาวยักษ์แปดหัวที่สิงสู่อยู่ในร่างของซาสึเกะ และถูกวิชาเนตวงแหวนสึซาโนะโอะปราบลงได้

    ซึ่งในเนื้อเรื่อง8หางถูกแสงอุษาจับได้แล้ว เพราะพ่ายแพ้ให้กับวิชาเนตรวงแหวนกระจกเงาหมื่นบุปผา วิชาเทวีสุริยา =เพลิงสีดำ ของซาสึเกะแต่ภายหลังพบว่าแปดหางยังไม่ตายเพราะได้ใช้คาถาบางอย่างซ่อนตัวไว้ในน้ำ


คิวบิ   

      คิวบิ โนะ โยโค ( Kyūbi no Yōkō) สัตว์หางรูปแบบจิ้งจอก มีความเชื่อกันว่ามีพลังมากที่สุดในบรรดาสัตว์หาง หมายถึงปริมาณจักระและระดับของวิชาคาถาอยู่ในระดับสูงสุด ถูกผนึกอยู่ในร่างของ นารูโตะ โดยอดีตโฮคาเงะรุ่นที่สี่ ใช้คาถาอัญเชิญทูตมรณะในการดึงวิญญาณของเก้าหางแล้วใช้คาถาผนึกหกวิถี กักขังจิ้งจอกเก้าหางไว้ในร่างของนารุโตะ(แต่กักขังพลังไว้เพียงครึ่ง)ตั้งแต่ยังเป็นทารก ท่านรุ่นที่สี่นั้นก็คือพ่อของนารูโตะเช่นกัน(มีเพียงไม่กี่คนที่รู้ว่ารุ่นสี่คือพ่อของนารูโตะ เพราะ รุ่นสี่ได้ขอร้องรุ่นสามไว้ว่าอย่าบอกใคร) เนื่องจากอยากให้ทุกคนคิดว่านารูโตะเป็นวีระบุรุษที่ช่วยโคโนฮะ แต่ทุกคนกลับคิดว่านารูโตะคือปีศาจจิ้งจอกเก้าหาง จึงไม่มีใครอยากคบด้วย แต่ เมื่อนานไปนารูโตะก็มีเพื่อนมากมายและเป็นที่ยอมรับของใครหลายๆคน




2 ความคิดเห็น: